วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่15 เรื่องการใช้และบำรุงรักษาโทรทัศน์


การใช้และบำรุงรักษาโทรทัศน์

1.อย่าตั้งเครื่องให้หลอดภาพโดนแดดหรือแสงสว่างถูกโดยตรง

2.เครื่องรับโทรทัศน์จะมีช่องระบายอากาศอยู่ทางด้านหลัง ด้านข้างและด้านล่าง จึงไม่ควรให้สิ่งใดไปอุดตันช่องระบายเหล่านี้

3.อย่างตั้งในที่ที่มีฝุ่นมาก เพราะฝุ่นจะเกาะติดบนหน้าจอภาพ ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดเจน ควรทำความสะอาดหน้าจอภาพเป็นครั้งคราวด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ๆ

4.อย่าตั้งไว้ใกล้กับตัวแผ่ความร้อน หรือแหล่งกำเนิดความร้อนใด ๆ เพราะหากเครื่องโดนความร้อนจัดจะทำให้เครื่องรับทำงานผิดปกติไป

5.โดยปกติอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าจะต้องติดตั้งห่างจากบริเวณชื้นแฉะ ฉะนั้นเครื่องรับโทรทัศน์ก็ไม่มีการยกเว้น และควรจะระลึกไว้เสมอด้วยว่าภายในเครื่องรับโทรทัศน์นี้เป็นตัวกำเนิดไฟฟ้าแรงสูงด้วย

6.ห้ามนำเอาวัตถุใด ๆ สอดใส่เข้าไปในภายในเครื่องทางช่องระบายอากาศ เช่น ตัวตุ๊กตา เศษกระดาษ ดินสอ หากเป็นไปได้ควรตั้งให้สูงพอที่เด็กจะเล่นไม่ถึง

7.ห้ามถอดแก้ฝาหลังของเครื่องออกเป็นอันขาด เพราะการถอดแก้ฝาหลังออกเป็นช่องเปิดให้เห็นชิ้นส่วนภายในของเครื่อง และถ้าผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปจับถูกต้องเข้าก็จะถูกไฟฟ้าดูดหรือไหม้ได้

8.อย่าปล่อยให้เครื่องรับโทรทัศน์ของท่านไปกระทบกับวัตถุใด ๆ เป็นอันขาด โดยเฉพาะผิวหน้าหลอดจอ ควรต้องระวังเป็นกรณีพิเศษ

9.ในขณะที่ฟ้าแลบ หรือระหว่างฝนฟ้าคะนอง ถ้าจะให้ปลอดภัยควรจะต้องดึงปลั๊กไฟของเครื่องออกจากปลั๊กไฟบ้านและควรปลดสายอากาศออกด้วย เพื่อป้องกันเครื่องจะเสีย

10.ถ้าหากเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีเสียงหรือมีกลิ่นผิดปกติในขณะที่เปิดดูอยู่ก็ให้รีบปิดเครื่องพร้อมกับดึงปลั๊กออกก่อนที่ท่านจะแจ้งช่างบริการ หรือผู้แทนจำหน่ายให้ท่านมาแก้ไข

11.ในกรณีที่เครื่องรับไม่ทำงาน ถ้าหากว่าท่านได้พยายามทำทุกอย่างตาม “แนวทางตรวจเช็คเครื่องรับโทรทัศน์ด้วยตนเอง” ที่ได้บอกไว้ในคู่มือนี้แล้วยังไม่สามารถช่วยให้เครื่องรับใช้งานได้ก็ให้ปิดเครื่องรับ และโทรติดต่อผู้จำหน่วยให้ท่าน หรือช่างบริการทันที

12.การทำความสะอาด ห้ามใช้เบนซิน ทินเนอร์ หรือสารละลายเคมีภัณฑ์ใดมาเช็ดตู้เครื่องรับเป็นอันขาด ควรใช้ผ้านิ่มเช็ดก็เพียงพอ และควรจำไว้ด้วยว่า อย่าวางวัตถุที่เป็นยางหรือพลาสติกไว้บนตู้รับเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้มีรอยคราบรูปวัตถุนั้น ๆ ติดอยู่บนตู้รับ

13.ไฟฟ้าสถิตบนหน้าจอภาพ เมื่อท่านเอามือไปสัมผัสหน้าหลอดจะรู้สึกเหมือนว่ามีไฟฟ้าตกค้างอยู่ นี้เป็นสาเหตุเนื่องจากไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นที่หน้าหลอดจอ แต่ไฟฟ้าสถิตนี้ไม่ทำอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ มันเหมือนกับไฟฟ้าสถิตที่ท่านมีความรู้สึกในบางขณะที่ท่านถอดเสื้อ

14.ในวันที่ไปพักผ่อนนอกบ้าน เมื่อท่านไม่ได้ใช้เครื่องรับของท่านเป็นเวลานาน ในขณะที่ท่านออกไปพักผ่อนนอกบ้านหลายวันก็ควรถอดปลั๊กของเครื่องรับออกจากปลั๊กไฟบ้านแนวทางตรวจเช็คเครื่องรับโทรทัศน์ด้วยตนเองถ้าหากว่าเครื่องรับโทรทัศน์ของท่านไม่สามารถใช้งานได้ ขอให้ตรวจเช็คตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ก่อนจะเรียกช่างบริการมาตรวจซ่อม

1.ไม่มีภาพไม่มีเสีย ให้ตรวจสอบดูว่า ได้เสียบปลั๊กไฟ และเปิดสวิทช์ของเครื่องรับหรือยัง

2.มีเสียงแต่ไม่มีภาพ ให้กดปุ่มเลือกช่องอย่างระมัดระวัง พร้อมกับตรวจดูว่า ความสว่างความเข้ม ปรับไว้ถูกต้องหรือไม่

3.การใช้เครื่องเล่นวีดีโอเทป เมื่อปรากฏสัญญาณ TEST ของสัญญาณ วีดีโอ เส้นของสัญญาณ TEST บิดงอบริเวณตอนล่าง นั่นไม่ใช่การเสียของเครื่องรับ และอาการนี้จะไม่มีผลเสียต่อการดูภาพจากเครื่องเล่นวีดีโอแต่อย่างใด

4.ภาพเป็นเงา (ภาพซ้อน) ให้เปลี่ยนทิศทาง หรือระดับความสูงหรือตำแหน่งของเสาอากาศ ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดจากสัญญาณทางภาคเครื่องส่งกระทบกับตัวตึกอาคารหรือภูเขา แล้วสะท้อนกลับมาเข้าเครื่องรับอีกระลอกหนึ่ง การปรับทิศทางระดับความสูงของเสาอากาศก็อาจจะช่วยให้การรับภาพให้ดีขึ้นได้บ้าง

5.ภาพเป็นหิมะ จะเห็นมีจุดเล็ก ๆ ปรากฏลายไปทั่วบนภาพ เมื่อมีอาการเช่นนี้ให้ตรวจดูการต่อสายของสายอากาศ หรือทิศทางของเสาอากาศ

6.มีเสียงหึ่ง แต่ไม่มีภาพ ให้กดปุ่มเลือกช่อง และให้ตรวจดูสายอากาศว่าต่อเข้ากับเครื่องหรือเปล่า

7.ภาพไม่มีสีทั้ง ๆ ที่รับสัญญาณสีอยู่ ให้หมุนปุ่มปรับความชัดเจนของภาพเล็กน้อย และปรับปุ่มปรับความเข้มของสี

8.มีสัญญาณรบกวน หรือแทรกปรากฏบนจอภาพ การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ จะทำให้เกิดจุดขาว ๆ หรือเส้นทางด้านแนวนอนบนจอภาพสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรบกวนของเครื่องยนต์ ไฟนีออน สว่านไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน ทางแก้ควรติดตั้งเสาอากาศให้ห่างจากแหล่งกำเนิดสิ่ง รบกวนเหล่านี้

9.การรบกวนของเครื่องวิทยุ ผลของการรบกวนนี้จะทำให้เกิดมีการไหลเป็นระลอก ๆ ของเส้นหรือแถบเส้นทะแยงมุมสาเหตุนี้มิใช่เกิดจากการผิดปกติของเครื่องรับ แต่เกิดจากการรบกวนของสัญญาณภายนอก หรือเครื่องจักรที่ใช้ความถี่ของวิทยุรบกวนการติดตั้งเสาอากาศการติดตั้งเสาอากาศ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการจะช่วยให้การรับภาพสีและเสียงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากเครื่องรับอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณอ่อน ควรใช้เสาอากาศนอกที่มีคุณภาพและติดตั้งเสาอากาศอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งท่านสามารถปรึกษาได้จากร้านค้าตัวแทนจำหน่าย โทรทัศน์ใกล้บ้านท่าน ในการใช้เสาอากาศภายนอก ท่านสามารถเลือกใช้สายอากาศชนิดแบน (300 โอห์ม) โดยผ่านอะแดปเตอร์เป็น 75 โอห์ม หรือใช้สายอากาศชนิดสายกลม ( 75 โอห์ม ) ก็ได้ ช่องเสียบสายอากาศจะอยู่ทางด้านหลังของเครื่องข้อควรรู้สำหรับการติดตั้งเสาอากาศ

1.ควรติดตั้งเสาอากาศให้ห่างจากถนนและห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูง เพื่อหลีกเลี่ยงจากการรบกวนสัญญาณ และเพื่อเป็นการป้องกันไฟฟ้าช้อตในกรณีที่เสาอากาศล้มไปโดนสายไฟฟ้าแรงสูง จะทำให้เครื่องรับโทรทัศน์เสียหายได้

2.ควรติดตั้งเสาอากาศภายนอกอย่างถาวรไม่ควรขยับหรือต่อเสาอากาศโดยไม่จำเป็น และจัดเสาอากาศให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการแกว่างของสายอากาศ

3.ตรวจเช็คและเปลี่ยนเสาอากาศเมื่อพบว่าเสาอากาศหมดอายุ เนื่องจากการตากแดดตากลมและฝนของสายอากาศเป็นเวลานาน ระยะการใช้งานของเสาอากาศจะสั้นลงถ้าเสาอากาศอยู่ในบริเวณที่มีควัน หรือบริเวณชายทะเล จุดนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้การรับภาพมีความคมชัดอยู่ตลอดเวลา

ที่มา. คู่มือการใช้โทรทัศน์ RTA

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่14 เรื่องเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างไรให้ถูกวิธี


เครื่องทำน้ำอุ่น” เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำให้น้ำร้อนขึ้น โดยอาศัยการพาความร้อนจากขดลวดความร้อน (Heater) ขณะที่กระแสน้ำไหลผ่านส่วนประกอบหลักของเครื่องทำน้ำอุ่นคือ ตัวถังน้ำ ทำหน้าที่บรรจุน้ำที่จะทำความร้อน, ขดลวดความร้อน ทำหน้าที่ทำความร้อนให้น้ำ เมื่อเราเปิดสวิตซ์ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขดลวดความร้อนทำให้น้ำร้อนขึ้น และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงถึงระดับที่ตั้งไว้ ผู้ใช้ก็สามารถเปิดน้ำอาบได้ และสามารถปรับอุณหภูมิน้ำได้ตามความต้องการ
ก่อนที่จะเลือกซือ้เครื่องทำน้ำอุ่น ควรตรวจดูระบบท่อน้ำประปาภายในบ้านว่าติดตั้งไว้เป็นแบบไหน ถ้าติดตั้งไว้แบบฝักบัวจุดเดียว ก็ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น แต่ถ้าติดตั้งระบบท่อไว้เป็นแบบท่อผสม มีอ่างอาบน้ำ ฝักบัวผสมยืนอาบ และก๊อกอ่างล้างหน้าผสม ก็ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำร้อน ถ้าเลือกซื้อเครื่องไม่ตรงตามระบบ เมื่อติดตั้งแล้วเครื่องก็จะใช้งานไม่ได้ตรวจดูกระแสไฟฟ้าภายในบ้านว่ามีกระแสไฟพอเพียงเหมาะสมกับเครื่องทำน้ำอุ่นหรือไม่ โดยดูจากการใช้กระแสไฟของเครื่องทำน้ำอุ่น จะใข้กระแสไฟประมาณ 7-17 แอมแปร์ (การทำงานต่ำสุด-สูงสุดโดยประมาณ) ต้องมีกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 20 แอมแปร์ ตรวจดูแรงดันน้ำภายในบ้าน โดยทั่วไปเครื่องทำน้ำอุ่นต้องการแรงดันน้ำเล็กน้อย ให้ทดสอบเบื้องต้น โดยดูแรงดันน้ำจากเมื่อเปิดฝักบัวให้น้ำไหลออกมา น้ำต้องมีแรงสาดออกมาจากฝักบัว แสดงว่าน้ำมีแรงดันพอควร แต่ถ้าน้ำที่ไหลออกมาไม่มีแรงสาด แต่รวมตัว หรือน้ำไหลห้อย ก็ควรต้องติดตั้งเครื่องปั้มน้ำขนาด 150 วัตต์ ขึ้นไปเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ เพราะหากไม่ตรวจสอบก่อน เครื่องอาจจะไม่ทำงาน เพราะแรงดันน้ำมาที่เครื่องทำน้ำอุ่นไม่เพียงพอ ส่วนวิธีการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นนั้น คุณควรเลือกซื้อรุ่นที่มีประสิทธิภาพและมีขนาดเครื่องที่เหมาะสม ไม่ดูใหญ่หรือเล็กจนเกินไป โดยการวัดจากจำนวนผู้ใช้ของครอบครอบครัว ว่าจำนวนคนในบ้านมีมากน้อยเพียงใด สภาพภูมิประเทศที่คุณอยู่อาศัยนั้น มีสภาพอากาศอย่างไร หนาวมาก หรือหนาวน้อย เพราะเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกซื้อว่าจะเลือกซื้อจำนวนวัตต์มากหรือน้อย อย่างเช่นคุรอย่ภาคกลางอากาสไม่หนาวมากก็ไม่ควรซื้อเครื่องที่ใช้แรงวัตต์มาก แต่ถ้าหากคุณอาศัยอยู่ภาคเหนือ ก็ต้องเลือกซื้อแบบที่ใช้แรงวัตต์มาก เพื่อที่เครื่องจะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทิภาพที่จำเป็นต้องเลือกเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและมียี่ห้อที่ได้มาตรฐาน เพราะว่ายิ่งยี่ห้อมีชื่อเสียงและได้รับมาตารฐานมากเท่าใด ความปลอดภัยก็จะสูงตามขึ้นไปด้วย เพราะเครื่องทีได้มาตจรฐานและมียี่ห้อ จะผ่านการทดสอบและได้รับรางวัลต่างๆ เพื่อเป็นการการันตี อาจจะราคาแพงกว่า แต่ก็คุ้มครองชีวิตคุณ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าชีวิตของคุณไม่ควรจะมาเสี่ยงกับเครื่องทำน้ำอุ่นราคาถูกๆ ไม่กี่บาท เพื่อเป็นการช่วยลดค่าจ่าย ควรเลือกใช้หัวฝักบัวชนิดประหยัดน้ำ เพราะประหยัดน้ำกว่าหัวฝักบัวธรรมดา 25-75% เลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังน้ำภายในตัวเครื่อง และมีฉนวนหุ้ม เพราะสามารถลดการใช้พลังงานได้ 10-20% ในการใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ควรเปิดเครื่องให้น้ำไหลพอเหมาะกับการใช้งาน ไม่ควรเปิดเครื่องตลอดเวลาในขณะอาบน้ำ อย่างเช่นสระผม หรือถูสบู่ก็ควรปิดเครื่อง เพราะความอุ่นของน้ำก็จะยังอุ่นอยุ่ เมื่อเสร็จแล้วจึงควรเปิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะจะช่วยลดการสูญเสียน้ำและช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า และหากใช้เสร็จควรปิดเครื่องทันที ข้อสำคัญควรที่จะหมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบทำน้ำอุ่นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้มีรอยรั่ว เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำและสิ้นเปลืองค่าไฟ หากใช้เสร็จควรปิดวาล์วและสวิตซ์ทันที และหากเครื่องเกิดปัญหาขัดข้องควรปรึกษาช่างผู้นาญงาน ไม่ควรทำการซ่อมแวฒเอง เพราะหากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วออกมาแล้ว อาจทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ครับ

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่13 เรื่องการเลือกเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ


ข้อคำนึงในการเลือกใช้เครื่องปรับอากาศ
1.ประเภทของเครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศ แบ่งออกเป็นประเภทตามลักษณะความต้องการใช้งานซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งแตกต่างกันไป ทั้งฟังกชั่นการทำงานคุณสมบัติต่างๆ รวมถึงราคา ดังนั้นควรเลือกสินค้าที่ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ และความต้องการใช้งานรวมทั้งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( สมอ )

2.ขนาดของความเย็นของเครื่องปรับอากาศ

เป็นความสำคัญอันดับแรกๆ ในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ คือต้องเลือกขนาด การทำความเย็น ของเครื่องปรับอากาศให้พอเหมาะกับห้องและการใช้งาน โดยหน่วยความเย็นที่เรารู้จักกันดี เรียกว่าบีทียู

3.มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

เป็นสินค้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จากหน่วยงานไฟฟ้า จะได้รับรองเรื่องของการประหยัดไฟเบอร์ 5

4.คุณสมบัติพิเศษต่างๆและการดีไซน์

คุณสมบัติพิเศษต่างๆของเครื่องปรับอากาศ เช่น ฟินเตอร์กรองอากาศ การกำหนดความเร็วความแรงของมอเตอร์ , การปรับทิศทางลม , การออกแบบเพื่อความสวยงามของห้อง

5.การติดตั้งและการบำรุงรักษา

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้น และการใช้เครื่องปรับอากาศให้เต็มประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงแผนการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอีกด้วย


วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่12 เรื่อง 12 วิธี เลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างชาญฉลาด

การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในครัวเรือนควรเริ่มต้นกันตั้งแต่การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้งานเพราะการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ย่อมจะยังผลให้เกิดการประหยัดพลังงาน และประหยัดเงินค่าไฟ ซึ่งวิธีการประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อมีข้อแนะนำดังนี้
12 คำถามก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า
1. ตรวจดูว่าตัวถังเครื่องใช้ไฟฟ้า มีรอยขีดข่วน ชำรุด บุบ สีถลอก มีตำหนิที่จุดใดหรือไม่
2.ตรวจดูที่สายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อว่าฉนวนมีรอยถลอกเนื่องจากหนูกัด แมลงสาบแทะหรือไม่ สายไฟกับปลั๊กต่อกันสนิทหรือไม่
3. ตรวจดูว่าสายไฟของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสายไฟที่มีคุณภาพได้มาตรฐานอุตสาหกรรมหรือไม่ โดยดูจากยี่ห้อที่ประทับบนสายไฟต้องชัดเจน มีเครื่องหมายมาตรฐานมอก. และต้องเป็นสายไฟที่สามารถทนกระแสสูงสุดของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้
4. สอบถามราคาของเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นที่จะซื้อ เปรียบเทียบกัน 3-4 ร้าน ก่อนตัดสินใจ
5. ตรวจดูอุปกรณ์เสริมประกอบที่มีมากับเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีครบตามรายการหรือไม่
6. ตรวจดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้กับแรงดันไฟฟ้าในบ้านเราคือ ระดับแรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ต (Hz.) หรือไม่
7. ดูว่ากำลังไฟฟ้าที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นว่าใช้เท่าไร เปรียบเทียบกับขนาดและรุ่นเดียวกันกับยี่ห้ออื่น ๆ
8. ตรวจสอบดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีใบรับประกันคุณภาพสินค้าหรือไม่ ระยะเวลาที่ประกันนานเท่าใด การรับประกันครอบคลุมขอบเขตมากน้อยขนาดไหน
9. ตรวจดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ มีคำแนะนำหรือคู่มือวิธีการใช้แนบมาให้ด้วยหรือไม่ หากไม่มีต้องทวงถามจากผู้ขายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ซื้อมาจากร้าน ถ้าเป็นของใหม่ก็ควรมีคู่มือการใช้และใบรับประกันคุณภาพแนบมาด้วย ผู้ใช้ควรอ่านเอกสารคู่มือให้เข้าใจและปฏิบัติตามให้ถูกต้อง สินค้าบางอย่างควรมีเจ้าหน้าที่มาแนะนำสาธิตการใช้ให้ด้วย ทำให้สามารถใช้เครื่องได้อย่างถูกต้องเพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าหากใช้ถูกวิธีแล้ว นอกจากจะทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้นแล้ว ยังทำให้สามารถประหยัดการใช้ไฟฟ้าอีกด้วย
10. หากทำได้ควรทดลองเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าดูว่าเครื่องทำงานปกติหรือไม่ ปลั๊กเสียบกับเต้ารับหลวมเกินไปหรือไม่
11. สอบถามถึงความพร้อมของอะไหล่ และอัตราค่าบริการหากพ้นระยะเวลาการประกันแล้วทางบริษัทฯ คิดกับลูกค้าอย่างไร
12. ตรวจดูว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือผ่านการรับรองจากสถาบันใดหรือไม่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ ผู้ผลิตพยายามโฆษณาสินค้าของตนเพื่อให้ติดหูติดตาผู้บริโภค ฉะนั้น ผู้บริโภคที่ดีควรรู้จักการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่ได้มาตรฐานและความปลอดภัยจากการใช้ เพราะมาตรฐานทำให้เกิดความชอบธรรมในการซื้อขายผู้ซื้อสามารถทราบได้แน่นอนก่อนการตัดสินใจซื้อว่า สินค้านั้นมีคุณสมบัติอย่างไร และผู้ซื้อยังได้รับความคุ้มครองด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อไปใช้อย่างไร นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการประหยัด เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานจะมีความเหมาะสมกับการใช้งาน สามารถสับเปลี่ยนชิ้นส่วนทดแทนกันได้ รวมทั้งก่อให้เกิดความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าด้วย เพียงแค่สังเกตเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสมอ. ออกให้กับผู้ผลิตสินค้าที่ยื่นขอ ซึ่งทางสมอ. ได้กำหนดมาตรฐานขึ้นมา 3 แบบ คือ มาตรฐานทั่วไป มาตรฐานบังคับ และมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่สมอ. กำหนดขึ้นจะครอบคลุม 15 สาขา โดยที่ผู้บริโภคสามารถพิจารณาสังเกตได้ เพื่อที่จะได้เลือกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีคุณภาพและมีอายุการใช้งานยาวนาน คุ้มกับเงินที่จ่ายไป